วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

นิทานอีสป

นิทานอีสป เรื่อง กบกับหนู
นิทานอีสป เรื่อง กบกับหนู

นิทานอีสปเรื่องนี้มีอยู่ว่า มีหนูเเก่ตัวหนึ่งได้เดินทางเเรมรอนมาจนถึงลำธารที่ชายป่า หนูแก่ต้องการจะข้ามไปยังฝั่งตรงข้าม จึงได้เข้าไปหาเจ้ากบตัวน้อยที่ริมลำธาร เเล้วจึงเอ่ยขอให้กบช่วยพาข้ามลำธาร

กบน้อยมองหนูแก่เเล้วปฏิเสธอย่างสุภาพว่า
" โธ่ ฉันน่ะตัวเล็กพอๆ กับท่าน เเล้วจะพาท่านข้ามไปได้อย่างไรกันล่ะจ๊ะ "
เเต่หนูแก่ไม่ยอม กลับอ้างว่าตนเป็นสัตว์ผู้อาวุโสกว่า ถ้ากบหากว่ากบไม่ช่วยตน ตนก็จะไปป่าวประกาศให้สรรพสัตว์ทั้งหลายได้รับรู้ถึงความใจดำของกบ



เมื่อถูกขู่เข็ญเช่นนั้น กบจึงต้องจำยอมให้หนูเอาเท้าผูก กับเท้าของตนเองเเล้วก็พาว่ายข้ามลำธาร เเต่ทว่าพอว่ายไปได้เเค่ครึ่งทางเท่านั้นกบก็เริ่มหมดเเรง
ก่อนที่ทั้งคู่จะจมน้ำตายไปด้วยกัน ต่อมาเหยี่ยวตัวหนึ่งจึงโฉบลงมาจิกเอา ทั้งกบเเละหนูไปกินเป็นอาหาร

นิทานอีสปเรื่องนี้ สอนให้รู้ว่า...

" คิดประโยชน์จากผู้ที่ไม่สามารถให้ได้ ย่อมมีเเต่เสียหาย "
อ้างอิงมาจาก http://xn--o3cdbi4ba6bekr7cips.blogspot.com/2011/01/blog-post.html

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา มักจะตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณี ลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลง ไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคาด้วย

ประวัติ


พลุเฉลิมฉลองในเทศกาลวันลอยกระทงริมแม่น้ำเจ้าพระยา
เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป[ต้องการอ้างอิง] แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่1